พริก ชื่อภาษาอังกฤษของพริก ชื่อวิทยาศาสตร์ของพริก ชื่อวงศ์ของพริก ประวัติความเป็นมาของพริกในประเทศไทย ประโยชน์สรรพคุณของพริก

รูปภาพจาก หลบมุมหนังสือชัยภูมิ
Tag : พริก, ประวัติความเป็นมาของพริกในประเทศไทย, ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของ “พริก”, ประเภทของพริก, ความเผ็ดของพริก, ผลิตภัณฑ์จากพริก, ประโยชน์สรรพคุณของพริก, ชนิดของพริก, ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของพริก, ประโยชน์จากการกินเผ็ด, ขอเสียจากการกินเผ็ด, โรคและแมลงของพริก, ศัตรูพืชของพริก

พริก

ชื่อภาษาอังกฤษของพริก คือ : Chilli peppers, chili, chile
ชื่อวิทยาศาสตร์ของพริก คือ : Capsicum frutescens Linn
ชื่อวงศ์ของพริก คือ : SOLANACEAE

ประวัติความเป็นมาของพริกในประเทศไทย


    
รูปภาพจาก หลบมุมหนังสือชัยภูมิ
ความเป็นมา

                               พริกเป็นพืชพื้นเมือง นักพฤกษศาสตร์พบว่า มีถิ่นกำเนิดแถบทวีปอเมริกากลางและใต้  นักโบราณคดีได้ค้นพบพริกในหลุมศพของชาวเปรูยุคก่อนประวัติศาสตร์ ราว 6,500 ปีก่อนคริสต์ศักราช และคาดว่า  ชาวพื้นเมืองอเมริกาใต้เริ่มปลูกพริกเป็นพืชสวนครัวมานมนาน พริกจึงเป็นเครื่องเทศที่เก่าแก่ที่สุดชนิดหนึ่งของโลก หลังจากนั้น นักผจญภัยก็ได้นำพริกมาปลูกเผยแพร่ในยุโรปแล้วแพร่หลายไปทั่วโลก
                                สำหรับประเทศไทยนั้น  สันนิษฐานว่า  พริกอาจเดินทางถึงแดนขวานทอง  พร้อมกับพ่อค้าชาวโปรตุเกส  ในสมัยอยุธยาตอนต้นหรือไม่เช่นนั้นก็อาจเป็นช่วงสมเด็จพระนารายณ์ ซึ่งมีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ ทั้งจีน อินเดีย มาลายู  และฝรั่ง และเมื่อเมล็ดพริกต้นแรกงอกงามบนผืนดินของเมืองไทยแล้ว ด้วยลักษณะภูมิประเทศและดินฟ้าอากาศ  พริกจึงกลายพันธุ์มาเป็นพืชท้องถิ่นของไทย เช่น  ขี้หนู  พริกชี้ฟ้า  พริกหยวก  พริกเหลือง ฯลฯ.
                               พริก  นับได้ว่า เป็นพืชเกษตร ที่สร้างรายได้และเชื่อมโยงระดับคุณภาพชีวิตตั้งแต่พื้นที่ชุมชนเล็กๆไปจนถึงขั้นการส่งออก สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับประเทศเป็นจำนวนไม่น้อย  คนไทยรู้จักการปลูกพริกและถูกนำมาใช้ประโยชน์ทั้งในรูปของ ผลสด   แห้ง  ดอง  เผา  เป็นต้นรวมถึงผลิตภัณฑ์ต่างๆ  เช่น  ซอสพริก  พริกแห้ง  พริกป่น พริกดอง  สีผสมอาหาร  นอกจากนั้นยังนำสารสกัดจากพริกไปใช้ใน เวชภัณฑ์อื่นๆได้อีกด้วย
                              การศึกษาของนักชีวเคมีได้วิเคราะห์พบว่า รสเผ็ดของพริกเกิดจากสาร  capsicin  ที่แฝงอยู่ในบริเวณรก (placenta) ของผล แต่ไม่อยู่ในเนื้อและเปลือกพริก การวิเคราะห์โครงสร้างเคมีของ capsicin ทำให้รู้ว่า  มันมีชื่อ  8-methyl-n-vanillyl-6-noneamide ซึ่งมีสูตร  C18 H23 NO3  มีน้ำหนักโมเลกุล 305.46  มีจุดหลอมเหลวที่  65 องศาเซลเซียส ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ละลายน้ำได้เล็กน้อย และละลายในไขมัน น้ำมัน และแอลกอฮอล์ได้ดี
                             การศึกษาคุณสมบัติด้านเภสัชวิทยาของพริก คุณสมบัติที่โดดเด่นที่สุดของพริกคือ มีรสเผ็ด  นอกจากนี้มันยังมีคุณสมบัติทนความร้อน  ความเย็น  ได้ดีอีกด้วย   ดังนั้น การต้มหรือการแช่แข็งจะไม่ทำให้พริกเผ็ดน้อยลงแต่อย่างใด   แพทย์ในอดีตเคยใช้พริกเป็นยารักษาโรคได้นานาชนิด เช่น โรคบวม เสียดท้อง ปวดท้อง อาเจียน อหิวาต์ อาหารไม่ย่อย ปวดหัว ปวดประสาท ปวดตามข้อ ท้องร่วง กระเพาะอักเสบ แก้เมาคลื่น โรคหวัด ลดน้ำมูก ป้องกันการติดเชื้อ ลดอาการไขมันอุดตันของเส้นเลือด ลดความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็ง บรรเทาอาการปวด ทำให้มีอารมณ์ดี และใช้เป็นยาไล่แมลงได้อีกด้วย
                            จากการศึกษาของนักโภชนาการได้พบว่า พริกชี้ฟ้า พริกขี้หนู และพริกหวาน  ต่างก็มีวิตามิน C  เช่น ในเนื้อพริก 100  กรัม จะมีวิตามิน C  ตั้งแต่  87-90  มิลลิกรัม  และมี  betacarotene  (หรือวิตามิน A) ซึ่งช่วยบำรุงสายตา

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของ “พริก”
               พริก ชื่อสามัญ/ชื่ออังกฤษ : Chilli, Pepper, Capsicum, Paprika ชื่อวิทยาศาสตร์:Capsicum annum.
พริกเป็นพืชล้มลุก มี ผล เป็นผลเดี่ยว (simple fruit) ผลสด ประเภท  เบอร์รี่ (berry) ลักษณะเป็นกระเปาะ มีเพอริคาร์พ (pericarp) นุ่ม 
               สีของผลอ่อน มีทั้ง  สีเหลืองอ่อน  สีเขียวอ่อน สีเขียวเข้ม และสีม่วง เมื่อผลสุก อาจเปลี่ยนเป็นสีแดง ส้ม เหลือง น้ำตาล ขาวนวล หรือ สีม่วง
               เมล็ดจะเกิดเกาะรวมกันอยู่กันที่ รก(placenta) ซึ่งมีตั้งแต่โคนจนถึงปลายผล เมล็ดพริกมีขนาดค่อนข้างใหญ่กว่าเมล็ดมะเขือเทศ แต่มีรูปร่างคล้ายกัน คือ มีลักษณะรูปกลมแบน


ประเภทของพริก  พริก  แบ่งออกเป็นสองกลุ่ม คือ
               1.  กลุ่ม Capsicum furtescens  เป็นพริกกลุ่มที่มีความเผ็ดมาก ได้แก่ พริกขี้หนูสวน พริกขี้หนูไทย และพริกเหลือง
               2.  กลุ่ม Capsicum annuum เป็นพริกกลุ่มที่มีความเผ็ดน้อย ได้แก่ พริกหยวก พริกชี้ฟ้า พริกฝรั่ง  และพริกหวาน

ความเผ็ดของพริก
               คุณลักษณะเด่นของพริก คือ ความเผ็ด ซึ่งมาจากสารเคมีชื่อ Capsaicin รสเผ็ดของพริก  สารแคพไซซินในพริกช่วยทำให้เจริญอาหาร ทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานดีขึ้น แก้หวัด ขับลม ช่วยสูบฉีดโลหิต ช่วยป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ บำรุงธาตุ ช่วยให้การไหลเวียนของโลหิตดีขึ้น พริก ยังมีสารที่เปลี่ยนเป็นวิตามินเอ (pro-vitamin A) และวิตามินซี (vitamin C) สูงซึ่งเป็นสารที่ช่วยต้านอนุมูลอิสระ
นอกจากนั้นยังมีสารอื่นๆที่ทำให้ความเผ็ดอีก คือ Dihydrocapsaicin ,Nordihydrocapsaicin ,Homodihydrocapsaicin และ Homocapsaicin ซึ่งออกฤทธิ์ทำให้รู้สึกแสบร้อน  ระคายเคือง  และเมื่อรับประทานเข้าไปแล้วจะทำให้ร่างกายขับเหงื่อและสามารถกระตุ้นการหลั่งของน้ำย่อย  นอกจากความเผ็ดในพริกแล้วยังมีวิตามิน  C  สูง มีวิตามิน  A  แคลเซี่ยมและธาตุเหล็กอีกด้วย  ดังนั้นการทานพริกก็จะช่วยในการบำรุงเลือด  เสริมสร้างกระดูก  ทำให้ผิวพรรณสดใส  ต่อต้านอนุมูลอิสระ และบำรุงสายตา
รสเผ็ดนั้นสามารถช่วยให้ร่างกายหลั่งสาร เอ็นโดรฟิน (Endorphin)จากต่อมใต้สมอง และ ไฮโปทาลามัส ในกระดูกสันหลังที่ทำให้รู้สึกมีความสุข  บรรเทาอาการเจ็บปวด  ลดอาการไข้หวัดคัดจมูก ขับเสมหะ  โดยเฉพาะผู้ป่วยในโรคภูมิแพ้  หอบหืด  การทานพริกจะช่วยขยายหลอดลมได้อีกด้วย
ในปัจจุบันนอกจากการใช้พริกเป็นอาหารเพื่อเสริมรสชาติแล้ว  พริกยังอยู่ในฐานะเป็นพืชสมุนไพร  เป็นอาหารและเป็นยาแล้ว  ยังมีการนำพริกไปทำผลิตภัณฑ์ที่ใช้ทา  สามารถรักษาอาการผิวหนังอักเสบ  แก้ปวดเมื่อย แก้การติดเชื้อที่ผิวหนัง  เช่น  เริม  และงูสวัดได้
จากงานวิจัยพบว่า  พริกช่วยในการเพิ่มอุณหภูมิของร่างกาย  มีการขับเหงื่อออกมา  ทำให้ร่างกายเย็น  ในเวลาเดียวกันก็ช่วยในการเผาผลาญพลังงานในร่างกาย  ลดความรู้สึกอยากรสหวาน ดังนั้นการทานพริกจึงมีประโยชน์ในด้านการควบคุมน้ำหนัก  ลดคอเรสเตอรอล  ตลอดทั้งลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งได้

ผลิตภัณฑ์จากพริก
               พริกเป็นวัตถุดิบเพื่อนำมาแปรรูป (food processing) เพื่อการถนอมอาหาร และเพิ่มมูลค่าเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆได้มากมาย   ได้แก่ พริกแห้ง พริกป่น ซอสพริก พริกดอง (pickle) น้ำจิ้มไก่ น้ำพริกแกง ปาปริกา (paprika) โอลีโอเรซิน (oleoresin) สีผสมอาหาร  นอกจากนั้นยังนำสารสกัดจากพริกไปใช้ใน เวชภัณฑ์อื่นๆได้

ชนิดของพริก
รูปภาพจาก หลบมุมหนังสือชัยภูมิ

พริกที่ปลูกแบ่งตามขนาดของผลพริกได้ 2 ชนิด

1. พริกใหญ่ ได้แก่ พริกชี้ฟ้า พริกมัน พริกเหลือง พริกหยวก พริกยักษ์บางซอ
2. พริกเล็กหรือพริกขี้หนู ได้แก่ พริกจินดา พริกหัวเรือ พริกห้วยสีทน พริกจินดายอดสน พริกจินดาลาดหญ้าพริกขี้หนูสวน พริกหอม พริกเดือยไก่ พริกปากปวน พริกลูกผสมซูบเปอร์ฮอท

การจำแนกพริกตามความเผ็ด

   สารแคปไซซิน เป็นสารที่ให้ความเผ็ดในพริก มีหน่วยเป็นสโควิลล์ (Scoville) โดยพริกที่มีความเผ็ดร้อยละ 1 จัดเป็นพริกที่มีความเผ็ดมากที่ 100% หรือมีค่าเท่ากับ 175000 สโควิลล์ ซึ่งจำแนกออกเป็น 3 ชนิด คือ

1. พริกเผ็ดมาก เป็นพริกที่มีความเผ็ดในช่วง 70000-175000 สโควิลล์ พบได้ในพริกขนาดเล็ก มักนำมาสกัดเป็นน้ำมันหอมระเหย เช่นพันธุ์ตาบาสโก

2. พริกเผ็ดปานกลาง เป็นพริกที่มีความเผ็ดในช่วง 35000-70000 สโควิลล์ พริกชนิดนี้มักนำมาประกอบอาหาร เช่น พริกขี้หนู พริกชี้ฟ้า พริกจินดา พริกหัวเรือ พริกสีทน พริกช่อ มข. เป็นต้น

3. พริกเผ็ดน้อยหรือไม่เผ็ด เป็นพริกที่มีความเผ็ดในช่วง 0-35000 สโควิลล์ มักเป็นพริกที่มีขนาดใหญ่ เนื้อหนา ผลมีลักษณะกลม สั้น มักนำมาสกัดเป็นน้ำมันหอมระเหย เช่น พริกหยวก พริกหวาน เป็นต้น

การจำแนกพริกตามขนาดผล

1. พริกใหญ่ เป็นพริกที่มีความยาวของผลมากกว่า 5 เซนติเมตร ขึ้นไป แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ
       - ผลยาวขนาดมากกว่า 5-10 เซนติเมตร ได้แก่ พริกมัน พริกชี้ฟ้า พริกเหลือง พริกบางช้าง ปลูกมากในจังหวัดเชียงใหม่ นครปฐม ราชบุรี และพื้นที่ภาคกลาง
       - ผลยาวมากกว่า 10 เซนติเมตร ได้แก่ พริกหนุ่ม พริกสิงคโปร์ ปลูกมากในจังหวัดนครปฐม ราชบุรี และพื้นที่ภาคกลาง

2. พริกขี้หนู เป็นพริกที่มีความยาวของผลไม่เกิน 5 เซนติเมตร พริกขี้หนูแบ่งตามความยาวของผลเป็น 2 ชนิด คือ
       - พริกที่มีขนาดผลยาวมากกว่า 2-5 เซนติเมตร ลักษณะผลมีทั้งชี้ขึ้น และลง ได้แก่ พริกห้วยสีทน พริกจินดา พริกหัวเรือ พริกชลบุรี เป็นต้น
       - พริกที่มีขนาดผลยาวไม่เกิน 2 เซนติเมตร ได้แก่ พริกขี้หนูสวน พริกกะเหรี่ยง พริกขี้หนูหอม พริกขี้นก

ประโยชน์สรรพคุณของพริก


1. พริกช่วยขับลม แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อย อีกทั้งช่วยให้ระบบการย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น

2. พริกมีวิตามินเอ จึงช่วยบำรุงสายตา พริกมีวิตามินซีสูง การกินพริกสดๆ จะได้รับวิตามินซีดีกว่ากินพริกที่ปรุงสุกแล้ว เพราะวิตามินซีจะสลายตัวไปเมื่อถูกความร้อน

3. ประโยชน์ของพริกช่วยให้อารมณ์ดี เพราะสารแคปไซซินจะไปกระตุ้นสมองส่วนกลางให้หลั่งสารเอ็นดอร์ฟิน ซึ่งเป็นสารสร้างความสุข เราจึงอารมณ์ดีเมื่อกินพริก และอยากเพิ่มขนาดพริกในอาหารขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนั้นสารเอ็นดอร์ฟินยังมีฤทธิ์คล้ายมอร์ฟีน ที่ออกฤทธิ์ทำให้เกิดการผ่อนคลาย ทำให้เราอยากนอนหลับ

4. พริกช่วยบรรเทาอาการไข้หวัด หายใจไม่สะดวก เพราะในพริกมีสารแคปไซซินช่วยขยายช่องจมูกให้ใหญ่ขึ้น จึงช่วยให้ทางเดินหายใจโล่ง

5. พริกช่วยขับเสมหะ ทำให้เสมหะที่ข้นเหนียวเจือจางลง เราจึงขับออกจากร่างกายได้ง่ายขึ้น สังเกตว่าเวลากินพริกเผ็ดๆ มักจะมีน้ำมูกไหลออกมา

6. สรรพคุณของพริกดีต่อผู้ป่วยโรคหอบหืด เพราะความเผ็ดจะไปทำให้หลอดลมขยายตัวได้ดีขึ้น ไม่หดเกร็ง อาการจึงดีขึ้น

7. พริกมีสารแคปไซซิน ที่ช่วยป้องกันไม่ให้ตับสร้างคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี แต่เสริมสร้างคอเลสเตอรอลชนิดดี

8. พริกช่วยให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น ลดการอุดตันของหลอดเลือด และลดความดันได้ดี

9. การกินพริกเป็นประจำจะช่วยเพิ่มอุณหภูมิในร่างกาย ช่วยให้การเผาผลาญดีขึ้น จึงช่วยควบคุมน้ำหนักได้

10. พริกช่วยบรรเทาอาการปวด เช่น ช่วยลดอาการปวดฟัน เพราะสารแคปไซซินจะไปออกฤทธิ์ต่อเซลล์ประสาท ทำให้สมองส่วนกลางรับรู้การเจ็บปวดช้าลง

11. พริกช่วยป้องกันโรคมะเร็ง เพราะในพริกมีทั้งวิตามินเอ วิตามินซี และโปรตีน

12. ประโยชน์ของพริกช่วยเจริญอาหาร โดยยอดพริกและใบอ่อนของพริกมีรสเผ็ด ช่วยให้เจริญอาหาร เพิ่มน้ำลาย และช่วยขับลมได้

13. ใบพริกขี้หนูสดๆ ช่วยแก้อาการปวดศีรษะจากไข้หวัดหรือตัวร้อนได้ โดยใช้ใบพริกขี้หนูสดมาตำผสมกับดินสอพอง แล้วใช้ปิดบริเวณขมับ

14. พริกมีประโยชน์แก้อาการเจ็บคอ เสียงแหบได้ โดยใช้พริกขี้หนูป่น 1 หยิบมือ เติมน้ำเดือดลงไป 1 แก้ว ทิ้งไว้พออุ่น นำมาใช้กลั้วคอ

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของพริก

– ลำต้น
ต้นพริกขี้หนูมีการเติบโตของกิ่งแบบ Dichotomous คือ กิ่งแตกออกจากลำต้นเพียงกิ่งเดียวและจะแตกเพิ่มเป็น 2 เท่า เรื่อยๆ เป็น 2 กิ่ง เป็น 4 กิ่ง และ 8 กิ่ง จนมีลักษณะเป็นทรงพุ่ม

– ราก
รากพริกขี้หนู ประกอบด้วยรากแก้ว และรากฝอยจำนวนมาก มีลักษณะการแผ่ออกด้านข้างเป็นรัศมีได้มากกว่า 1 เมตร และหยั่งลึกได้มากกว่า 1.20 เมตร บริเวณรอบๆโคนต้นจะมีรากฝอยสานกันหนาแน่น

– ใบ
ใบเป็นชนิดใบเดี่ยว มีลักษณะแบนเรียบ สีเขียวอ่อน และเขียวเข้มตามอายุของใบ ใบเป็นมัน มีขนปกคลุมเล็กน้อย รูปร่างของใบมีลักษณะรูปไข่จนถึงเรียวยาว ปลายใบแหลม ใบออกบริเวณกิ่งแบบตรงข้ามกัน และมีขนาดแตกต่างกันตามสายพันธุ์ แต่ทั่วไปใบพริกขี้หนูจะมีขนาดเล็กในระยะต้นกล้า และมีขนาดใหญ่ เมื่อต้นโตเต็มที่

– ดอก
พริกขี้หนูเป็นดอกชนิดเดี่ยว ขนาดเล็ก แตกออกบริเวณข้อตรงที่มุมด้านบนของก้านใบหรือกิ่ง อาจมีดอกเดียวหรือหลายดอกในจุดเดียวกัน ก้านดอกตรงหรือโค้ง ดอกมีกลีบรอง มีลักษณะเป็นพู สีขาวหรือสีม่วงประมาณ 5 กลีบ เกสรตัวผู้มีประมาณ 1-10 อัน แตกออกจากโคนขที่กลีบดอก อับเกสรตัวผู้มักมีสีน้ำเงิน เป็นกระเปราะขนาดเล็ก และยาว ส่วนเกสรตัวเมียมี 1- 2 รังไข่ มีลักษณะชูขึ้นเหนือเกสรตัวผู้ รูปร่างเหมือนกระบองหัวมน รังไข่มี 3  – 4 พู มักจะออกดอก และติดผลในช่วงวันสั้น

ดอกพริกขี้หนู (1)

– ผล
ผลพริก เป็นผลประเภท Berry มีลักษณะเป็นกระเปาะ มีฐานที่ชั้นผลสั้น และหนา ผลอ่อนมักชี้ขึ้น แต่เมื่อแก่ผลจะห้อยลง ผลมีลักษณะแบน กลมยาว จนถึงพองอ้วนสั้น ผลมีขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ ผนังผล ( Pericarp ) อาจบางหรือหนา มีความเผ็ดแตกต่างกันตามพันธุ์ ผลเมื่ออ่อนสีเขียวเข้ม บางพันธุ์อาจมีสีขาวออกเหลืองเขียว เมื่อผลแก่จะเปลี่ยนเป็นแดงหรือเหลือง ขนาดผลทั่วไปประมาณ 1- 1.5 นิ้ว มีเส้นผ่กาศูนย์กลาง 1/4 -2/3 นิ้ว เมล็ดด้านในจะเกิดรวมกันที่รก (Placenta) ตลอดจากโคนจนถึงปลายผล ในช่วงที่ผลพัฒนา หากอุณหภูมิในช่วงกลางวันสูง ความชื้นต่ำ จะทำให้ผลมีรูปร่างบิดเบี้ยว ผลมีขนาดเล็ก การติดเมล็ดต่ำพริกขี้หนู
                    
– เมล็ด

เมล็ดพริกขี้หนูจะเกิดรวมกันที่รก (Placenta) ตลอดแนวยาวจากโคนถึงปลายผล เมล็ดมีรูปร่างคล้ายเมล็ดมะเขือเทศ คือ มีรูปกลม แบน สีเหลืองจนถึงสีน้ำตาล ผิวเมล็ดไม่ค่อยมีขนเหมือนผลในมะเขือเทศ แต่มีขนาดใหญ่กว่า
พริกขี้หนูตำ2

การผสมเกสรของพริกขี้หนูสามารถเกสรด้วยการผสมตัวเอง ( Self pollination ) แต่อาจเกิดการผสมข้ามต้น ( Cross pollination ) ที่ 9 – 32 % โดยอาศัยธรรมชาติ คือ กระแสลม และแมลงต่างๆ  ลักษณะความพร้อมของเกสรจะ พบว่า เกสรตัวผู้มักพร้อมที่จะผสมได้หลังจากดอกบานแล้ว 2-3 วัน แต่เกสรตัวเมียพร้อมที่จะผสมทันทีที่ดอกบาน จึงทำให้เกสรตัวผู้จากดอกหรือต้นอื่นเข้าผสมได้ก่อน ลักษณะการผสมเกสรของพริกดังกล่าวจึงทำให้เกิดพันธุ์พริกใหม่ๆมากขึ้น จาการผสมข้ามต้นหรือข้ามสายพันธุ์


ประโยชน์จากการกินเผ็ด



ช่วยให้อายุยืน จากงานวิจัยชิ้นหนึ่ง พบว่าการกินเผ็ดอย่างน้อยเพียงวันละครั้ง 6-7 วันต่อสัปดาห์ ช่วยให้อัตราการเสียชีวิตลดลงถึง 14 เปอร์เซ็นต์ อย่างไรก็ตาม งานวิจัยชิ้นนี้ยังมีข้อจำกัดอยู่หลายประการ ทั้งวิธีการเก็บข้อมูลที่อาจทำให้เกิดความคลาดเคลื่อน และไม่มีข้อมูลของตัวแปรอื่น ๆ อย่างปริมาณและชนิดของอาหารที่กินของผู้รับการทดลองแต่ละคน ซึ่งอาจมีผลต่องานวิจัยชิ้นนี้ได้ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีการศึกษาเพื่อยืนยันผลลัพธ์ที่แน่ชัดเพิ่มเติม



ช่วยเร่งกระบวนการเผาผลาญของร่างกาย มีงานวิจัยหลายชิ้นระบุว่า พริกและเครื่องเทศบางชนิด อย่างยี่หร่า อบเชย ขมิ้น พริก และพริกไทย ต่างก็มีส่วนช่วยเพิ่มอัตราการเผาผลาญของร่างกาย และยังช่วยให้รู้สึกหิวช้าลงด้วย ซึ่งอาจมีส่วนช่วยในการลดน้ำหนักได้อีกด้วย อย่างไรก็ตาม เนื่องจากงานวิจัยนี้เป็นการทดลองในสัตว์ และยังไม่มีงานวิจัยที่ศึกษาในมนุษย์ ดังนั้น ควรมีการศึกษาเพิ่มเติมโดยทดลองในมนุษย์ เพื่อหาข้อพิสูจน์ที่ชัดเจนต่อไป



ช่วยต้านเชื้อแบคทีเรีย จากงานค้นคว้าบางส่วน พบว่าเครื่องเทศบางชนิดอย่างยี่หร่าและขมิ้นอาจมีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระและจุลินทรีย์ และอาจมีส่วนช่วยในการยับยั้งแบคทีเรียในร่างกายได้เช่นกัน

ป้องกันและบรรเทาอาการเจ็บป่วย พริกอาจช่วยความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจได้ เนื่องจากงานวิจัยชิ้นหนึ่งระบุว่า พริกอาจช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลชนิดที่ไม่ดีและเพิ่มระดับคอเลสเตอรอลชนิดที่ดีได้ นอกจากนี้ พริกยังอาจมีส่วนช่วยเรื่องการไหลเวียนโลหิต มีสารต้านอนุมูลอิสระ อีกทั้งสารแคปไซซินในพริกอาจมีฤทธิ์ช่วยในการรักษามะเร็งบางชนิดได้ แต่ผลการวิจัยเหล่านี้ยังจำเป็นต้องมีหลักฐานทางการค้นคว้าเพื่อยืนยันประสิทธิภาพดังกล่าวให้ชัดเจน

ขอเสียจากการกินเผ็ด

ช่องปาก หลายคนอาจรู้สึกแสบร้อนภายในปากหลังจากกินอาหารเผ็ด โดยอาการแสบร้อนนี้ถือเป็นกลุ่มอาการแสบร้อนในช่องปาก ซึ่งอาจส่งผลต่อลิ้น เหงือก ริมฝีปาก แก้ม เพดานปาก และบริเวณอื่น ๆ ภายในช่องปากด้วย รวมทั้งอาจทำให้ปากแห้ง รู้สึกหิวน้ำ อาจสูญเสียการรับรส หรือทำให้ลิ้นรับรสชาติผิดเพี้ยนไปได้

ระบบทางเดินอาหาร สารแคปไซซินในพริกอาจเป็นสาเหตุของอาการปวดท้อง อาหารไม่ย่อย ท้องเสีย คลื่นไส้ และอาเจียน ซึ่งในกรณีที่เกิดการอาเจียน กรดที่ไหลย้อนกลับมาจากกระเพาะอาหารอาจทำให้หลอดอาหารระคายเคืองได้ นอกจากนี้ การกินเผ็ดก็อาจส่งผลให้อาการของโรคแผลในกระเพาะอาหารรุนแรงขึ้นได้ ดังนั้น ผู้ป่วยโรคนี้จึงควรหลีกเลี่ยงการกินอาหารเผ็ด เพื่อลดความเสี่ยงและช่วยไม่ให้โรคแผลในกระเพาะอาหารมีอาการรุนแรงขึ้น

ระบบทางเดินหายใจ การกินเผ็ดอาจเป็นสาเหตุของโรคภูมิแพ้จมูกจากอาหาร ซึ่งเป็นโรคจมูกอักเสบชนิดที่ไม่ได้เกิดจากสารก่อภูมิแพ้ แต่มีสาเหตุมาจากอาหารที่กิน โดยอาจทำให้มีอาการน้ำมูกไหลหรือมีเสมหะในคอหลังจากกินอาหารเผ็ด อย่างไรก็ตาม มีงานวิจัยบางชิ้นระบุว่าสารแคปไซซินอาจมีส่วนช่วยให้ผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบชนิดไม่แพ้มีอาการดีขึ้นได้ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมเพื่อยืนยันประสิทธิภาพและผลข้างเคียงของสารแคปไซซินที่มีต่อโรคนี้อย่างชัดเจนต่อไป

ปัญหาสุขภาพอื่นๆ การกินเผ็ดอาจเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดอาการแสบร้อนกลางทรวงอก นอกจากนี้ การกินเผ็ดอาจส่งผลให้อาการของโรคบางชนิดอย่างโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบรุนแรงขึ้นได้ เนื่องจากอาหารเผ็ดอาจทำให้กระเพาะปัสสาวะระคายเคือง ซึ่งผู้ที่ป่วยด้วยโรคนี้อาจมีการติดเชื้อบริเวณอวัยวะต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินปัสสาวะด้วย อย่างไต ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ และท่อปัสสาวะ ดังนั้น ผู้ที่มีอาการของโรคดังกล่าวควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีการเลือกกินอาหารอย่างเหมาะสม

โรคและแมลงของพริก

โรคในพริก

โรคเหี่ยวเขียว(Bacterial wilt)
สาเหตุ แบคทีเรีย Ralstonia solanacearum
ลักษณะอาการ โดยเริ่มแรกนั้นใบจะเหี่ยวและห้อยลงมา แต่ยังมีใบสีเขียว โดยจะยืนต้นตาย ถ้านำมาตัดดูบริเวณโคนต้น จะพบว่าท่อน้ำและท่ออาหารจะกลายเป็นสีน้ำตาล และถ้าตัดตามขวางจะมีน้ำสีขาวไหลออกมา
การรแพร่ะบาด เชื้อแบคทีเรียนั้นสามารถอยู่ในดินได้นานหลายปี และ มีการระบาดมากในช่วงหน้าร้อนความชื้นในดินสูง สภาพดินไม่สมบูรณ์ ขาดไนโตรเจร หรือดินที่เป็นด่าง ต่างเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคได้ง่ายและมีผลรุนแรง  โดยโรคสามารถแพร่ระบาดได้ง่ายมาก ไม่ว่าจะกับอุปกรณ์ทางการเกษตร ลม น้ำ และคน
การป้องกันกำจัด ถ้าพบการแพร่ระบาดควรเปลี่ยนไปปลูกพืชหมุนเวียบ
ไถดินตากแดกประมาณ 2-3 ครั้งเพื่อลดปริมาณเชื้อแบคทีเรียในดิน
ในแปลงที่พบว่าเคยเกิดการระบาด เตรียมดินก่อนปลูกด้วย ยูเรียผสมปูนขาว อัตราส่วน 80+800 กิโลกรัมต่อไร่ หลีกเลี่ยงการให้น้ำแบบไหลตามร่อง เพราะสามารถแพร่ระบาดไปทางน้ำได้ ใช้กลุ่มสารเคมีประเภท Inorganic เช่น คอปเปอร์ ไฮดอรกไซด์(ฟังกูราน) ฉีดลงบนดินทุกๆ 7 วัน

โรคเหี่ยวเหลือง
สาเหตุ เชื้อรา Fusarium oxysporum
ลักษณะอาการ เชื้อราจะเข้าทำลายส่วนที่อยู่ใต้ดินก่อน เช่น ส่วนราก ลำต้นที่อยู่ใต้ดิน หลังจากนั้น ใบจะเริ่มเหลือง เหี่ยวและร่วงหล่นเริ่มจากใบล่างสู่ยอดอ่อน มักเกิดในระยะออกดอกและติดผล
การแพร่ระบาด เชื้อราแพร่ระบาดจากการอาศัยอยู่ในดิน
การป้องกันกำจัด ปลูกพืชหมุนเวียน ปรับสภาพความเป็นกรดเป็นด่างของดินกำจัดต้นที่เป็นโรคออก หลังจากนั้นนำ สาร เมทาแลกซิล หรือ สาร อีทริไดอะโซล หรือ สารพีซีเอ็นบีผสมอีทริไดอะโซล ราดบนดินจากต้นบริเวณที่ถอน ใช้เชื้อรา ไตรโคเดอร์มาทุกๆ 10 วัน โดยฉีดพ่นทั้งต้นและเน้นที่บริเวณดินรอบๆโคนต้น

โรคแอนแทรกโนส หรือ โรคกุ้งแห้ง
สาเหตุ เชื้อรา  Colletotrichum dematium (Syd.) Bulter & Bisby และ Colletotrichum gloeosporioides (Penz.) Sacc.
ลักษณะอาการ เริ่มแรกจะพบแผลเป็นจุดสีน้ำตาล จากนั้นจะขยายวงกว้าเป็นรูปวงรี และแผลจะขยายได้กว้างอย่างไม่มีขอบเขต ส่งผลให้พริกเน่า
การแพร่ระบาด โรคนี้แพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็วในอุณหภูมิ 27 – 30 องศาเซลเซียส โดยเชื้อสามารถติดไปตามเมล็ดพันธุ์ ปลิวไปตามลม และตกค้างในดิน
การป้องกันกำจัด คลุกเมล็ดด้วยสารเคมี แมนโคเซป หรือแช่เมล็ดในน้ำอุ่นที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส นาน 30 นาที เพื่อฆ่าเชื้อก่อนปลูก
ใช้สารกลุ่มเคมีในกลุ่ม Strobilurin เช่น  อะซอกซี่สโตบิน(อมิสตา)
กลุ่ม Alkylenebis เช่น  แมนโคเซป, โพรพิเนบ(แอนทาโคล)
กลุ่ม อื่นๆ เช่น โพรคลอราช เป็นต้น ฉีดทุกๆ 7-10 วัน เว้นระยะห่างเพื่อให้อากาศถ่ายเท โดนแดดอย่างทั่วถึง ตัดกิ่งที่ติดเชื้อไปทำลายหรือเผา เพื่อลดปริมาณการแพร่ระบาด ศึกษาวิธีการอื่นๆได้ที่ กุ้งแห้งแท้(แอนแทรคโนส) และ กุ้งแห้งเทียมต่างกันอย่างไร?

โรคกุ้งแห้งเทียม
สาเหตุ ขาดสารอาหารประเภทแคลเซียม
ลักษณะอาการ มีแผลคล้ายโรคกุ้งแห้ง โดยมักเกิดที่ผลมากกว่าที่ใบ ตามรอยเจาะของแมลงวันผลไม้หรือเนื้อเยื่อบาง
การป้องกันกำจัด ใส่ธาตุอาหารประเภท แคลเซียมโบรอน(ไวกิ้ง) เป็นประจำ
ใส่ปูนขาวและไถพรวนดินก่อนลงกล้า ศึกษาวิธีการอื่นๆได้ที่ กุ้งแห้ง แท้(แอนแทรคโนส) และ กุ้งแห้งเทียมต่างกันอย่างไร?

โรคเน่าเปียก
สาเหตุ เชื้อรา Choanephora cucurbitarum
ลักษณะอาการ โดยยอดอ่อน ใบอ่อน ตาดอก และดอก จะเน่าเละ เป็นสีน้ำตาลดำ โดยเริ่มจากกยอดลงมา ใบจะมีลักษณะไหม้ สีน้ำตาลดำอย่างรวดเร็ว
การแพร่ระบาด ความชื้นในแปลงที่สูง ส่งผลต่อการระบาดอย่างรุนแรงได้
การป้องกันกำจัด เว้นระยะปลูกให้มีอากาศถ่ายเท ไม่ใช้ดินชื้นเกินไป
ใช้สารเคมีในกลุ่ม Dicarboximide เช่น ไอโพรไดโอน โพรไซไดโอน ฉีดพ่นตามฉลากบนบรรณจุภัณฑ์ หลีกเลี่ยงการพ่นน้ำแบบฝอย เพราะเชื้อราสามารถกระเด็นไปกับละอองน้ำได้

โรครากเน่าและโคนเน่า
สาเหตุ เชื้อรา Phytophthora
ลักษณะอาการ ทำให้ต้นกล้าเน่า หรือถ้าเกิดในพืชที่เจริญเติบโตแล้วจะทำให้เกิดอาการใบเหลือง ร่วง เหี่ยว
การแพร่ระบาด แพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็ว สามารถแพร่ระบาดไปกับน้ำที่ใช้ในการรด
การป้องกันกำจัด ปลูกต้นพริกให้มีระยะห่างที่เหมาะสม ให้มีอาหาศถ่ายเท และไม่มีน้ำขัง แช่เมล็ดพันธุ์ในน้ำอุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส นานประมาณ 30 นาที เลือกซื้อเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพ เมล็ดพันธุ์พริก ใช้สารเคมีในกลุ่ม Phenylamide  เช่น เมทาแลกซิล

โรคใบจุดตากบ
สาเหตุ เชื้อรา Cercospora capsici
ลักษณะอาการ ในส่วนของลำต้น ใบ ผล จะเกิดแผลทางยาว ที่ขอบแผลสีน้ำตาลเข้ม เนื้อแผลสีน้ำตาลอ่อนและกลางแผลสีเทา
การแพร่ระบาด สามารถแพร่ระบาดได้ทางลม น้ำ หรือติดไปกับขาของแมลงต่างๆ โดยเชื้อราสามารถมีชีวิตอยู่ได้นานในดินและซากพืช นอกจากนี้ยังมีเชื้อราในเมล็ดพันธุ์ได้ด้วย
การป้องกันกำจัด เว้นระยะห่างระหว่างต้นให้พอดี มีกากาศถ่ายเทได้สะดวก
กำจัดพืชที่ติดโรคทันที ลดการรดน้ำ ใช้สารเคมีในกลุ่ม Alkylenebis(dithiocarbamate) เช่น แมนโคเซป เป็นต้น

โรคราแป้ง
สาเหตุ เชื่อรา Oidium mangiferae Berth
ลักษณะอาการ มีลักษณะคล้ายผงแป้งสีขาวตามใบ ยอดอ่อน หรือผลอ่อน หลังจากนั้นต้นจะเหลืองและตาย
การแพร่ระบาด สปอร์ของเชื้อราจะแพร่ระบาดตามลม
การป้องกันกำจัด ใช้สารเคมีในกลุ่ม triazole เช่น  เตตระโคนาโซล(ดูมาร์ค) เป็นต้น ใช้สารเคมีในกลุ่ม Benzimidazole เช่น คาร์เบนดาซิม(อาเค่น) เป็นต้น ใช้สารเคมีในกลุ่ม Inorganic  เช่น  ซัลเฟอร์หรือกำมะถัน(ไมโครไธออล) เป็นต้น

โรครากปม
สาเหตุ ไส้เดือนฝอยชนิด Meloidegyne sp.
ลักษณะอาการ ต้นพริกหยุดการเจริญเติบโต แคระ ใบจะเหี่ยว เหลือง รากจะเป็นปม และตายในที่สุด
การแพร่ระบาด สามารถแพร่ระบาดได้ทั้งทางดิน น้ำ ต้นกล้า แล้วเครื่องมือเกษตรกรรม
การป้องกันกำจัด ไถหน้าดินตากแดดก่อนปลูกประมาณ 7 วัน
ผสมปุ๋ยกับดินในขั้นตอนการเตรียมดิน จะช่วยลดปริมาณไส้เดือน
ใช้สารเคมีในกลุ่ม carbamate  เช่น  คาร์โบซัลแฟน(พอส) เป็นต้น
ใช้สารเคมีในกลุ่ม Neonicotinoid เช่น ไดโนทีฟูแรน(สตาร์เกิล) เป็นต้น

โรคใบด่างในพริก(ไวรัส)
โรคใบด่างประพริก (Chilli veinal mottle virus)
สาเหตุ เชื้อไวรัส CVMV
ลักษณะอาการ จะมีอาการในช่วงปลายใบ โดยจะมีใบด่างเขียวซีด ในขั้นรุนแรงใบจะเริ่มเปลี่ยนรูปร่าง ใบยอดหด จ้นไม่โต ขนาดพริดจะเล็ก รูปร่างผิดปรกติ
การแพร่ระบาด มีเพลี้ยอ่อนป็นแมลงพาหะ แพร่โดยการสัมผัส
การป้องกันกำจัด กำจัดพืชที่เกิดโรคโดยการเผาทำลาย
ใช้สารเคมีในกลุ่ม carbamate เช่น คาร์โบซัลแฟน(พอส) เป็นต้น
ใช้สารเคมีในกลุ่ม Pyrethroid เช่น ไซเพอร์เมทริน(ฮุค) เป็นต้น
ใช้สารเคมีในกลุ่ม phenylpyrazole เช่น ฟิโพรนิล(แอสเซนด์) เป็นต้น
ใช้สารเคมีในกลุ่ม Organophosphate เช่น โพรฟีโนฟอส(เปเป้) หรือ คลอร์ไพริฟอส(อูดิ) เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันมีสาร คลอไพริฟอส+ไซเพอร์เมทริน(เดอะ เดครัส) ใช้สารเคมีในกลุ่ม Neonicotinoid เช่น ไดโนทีฟูแรน(สตาร์เกิล จี), ไทอะมีทอกแซม(เซนน่า) หรือ อิมิดาโคลพริด(ไบรด้า) เป็นต้น
ฉีดพ่นสารสกัดจากธรรมชาติ เช่น สะเดา ผสมกับน้ำผงซักฟอกเจือจาง

โรคใบด่างไวรัสวายมันฝรั่ง(สามารถ แพร่ในพริกได้)
สาเหตุ เชื้อไวรัสPVY
ลักษณะอาการ เส้นใบจะบวมใส ใบจะด่าง หดและย่น ในส่วนของผลผลิตจะลดลง และมีรูปร่างผิดปกติ
การแพร่ระบาด มีเพลี้ยอ่อนป็นแมลงพาหะ แพร่โดยการสัมผัส
การป้องกันกำจัด กำจัดพืชที่เกิดโรคโดยการเผาทำลาย
ใช้สารเคมีในกลุ่ม carbamate เช่น คาร์โบซัลแฟน(พอส) เป็นต้น
ใช้สารเคมีในกลุ่ม Pyrethroid เช่น ไซเพอร์เมทริน(ฮุค) เป็นต้น
ใช้สารเคมีในกลุ่ม phenylpyrazole เช่น ฟิโพรนิล(แอสเซนด์) เป็นต้น
ใช้สารเคมีในกลุ่ม Organophosphate เช่น โพรฟีโนฟอส(เปเป้) หรือ คลอร์ไพริฟอส เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันมีสาร คลอไพริฟอส+ไซเพอร์เมทริน(เดอะ เดครัส) ใช้สารเคมีในกลุ่ม Neonicotinoid เช่น ไดโนทีฟูแรน(สตาร์เกิล จี), ไทอะมีทอกแซม(เซนน่า) หรือ อิมิดาโคลพริด(ไบรด้า) เป็นต้น
ฉีดพ่นสารสกัดจากธรรมชาติ เช่น สะเดา ผสมกับน้ำผงซักฟอกเจือจาง
ไม่ปลูกร่วมกับพืชสาเหตุของโรค เช่น มันฝรั่ง ยาสูบ และมะเขือเทศ

โรคใบด่างพริก
สาเหตุ เชื้อไวรัสCMV
ลักษณะอาการ ใบมีสีเขียวอ่อนสลับสีเขียวเข้มหรือสีเหลือง ไม่ออกตอก ผลมีจุดสีเหลือง รูปร่างผิดปกติ
การแพร่ระบาด มีเพลี้ยอ่อนเป็นพาหะนำโรค
การป้องกันกำจัด กำจัดพืชที่เกิดโรคโดยการเผาทำลาย
ใช้สารเคมีในกลุ่ม carbamate เช่น คาร์โบซัลแฟน(พอส) เป็นต้น
ใช้สารเคมีในกลุ่ม Pyrethroid เช่น ไซเพอร์เมทริน(ฮุค) เป็นต้น
ใช้สารเคมีในกลุ่ม phenylpyrazole เช่น ฟิโพรนิล(แอสเซนด์) เป็นต้น
ใช้สารเคมีในกลุ่ม Organophosphate เช่น โพรฟีโนฟอส(เปเป้) หรือ คลอร์ไพริฟอส(อูดิ) เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันมีสาร คลอไพริฟอส+ไซเพอร์เมทริน(เดอะ เดครัส) ใช้สารเคมีในกลุ่ม Neonicotinoid เช่น ไดโนทีฟูแรน(สตาร์เกิล จี), ไทอะมีทอกแซม(เซนน่า) หรือ อิมิดาโคลพริด(ไบรด้า) เป็นต้น
ฉีดพ่นสารสกัดจากธรรมชาติ เช่น สะเดา ผสมกับน้ำผงซักฟอกเจือจาง
ไม่ปลูกร่วมกับพืชสาเหตุของโรคคือพืชตระกูลแตง
โรคใบด่างยาสูบ (สามารถ แพร่ในพริกได้)
สาเหตุ เชื้อไวรัส TEV
ลักษณะอาการ เส้นใบมีลักษณะใส ใบและผลด่าง ใบด่างดห จ้นเหี่ยว ใบร่วง ผลมีลักษณะเล็กและรูปร่างผิดปกติ
การแพร่ระบาด มีเพลี้ยอ่อนเป็นพาหะนำโรค และสามารถแพร่โดยการสัมผัสหรือติดไปกับเครื่องมือ เชื้อสามารถอาศัยอยู่ในดินได้นานหลายปี
การป้องกันกำจัด กำจัดพืชที่เกิดโรคโดยการเผาทำลาย
ใช้สารเคมีในกลุ่ม carbamate เช่น คาร์โบซัลแฟน(พอส) เป็นต้น
ใช้สารเคมีในกลุ่ม เช่น ไซเพอร์เมทริน(ฮุค) เป็นต้น
ใช้สารเคมีในกลุ่ม phenylpyrazole เช่น ฟิโพรนิล(แอสเซนด์) เป็นต้น
ใช้สารเคมีในกลุ่ม  Pyrethroid เช่น ไซเพอร์เมทริน(ฮุค) เป็นต้น
ใช้สารเคมีในกลุ่ม Organophosphate เช่น โพรฟีโนฟอส(เปเป้) หรือ คลอร์ไพริฟอส เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันมีสาร คลอไพริฟอส+ไซเพอร์เมทริน(คลอร์ไซริน)
ใช้สารเคมีในกลุ่ม Neonicotinoid เช่น ไดโนทีฟูแรน(สตาร์เกิล จี), ไทอะมีทอกแซม(เซนน่า) หรือ อิมิดาโคลพริด(ไบรด้า) เป็นต้น
ฉีดพ่นสารสกัดจากธรรมชาติ เช่น สะเดา ผสมกับน้ำผงซักฟอกเจือจาง
ไม่ปลูกร่วมกับพืชสาเหตุของโรคคือพืชตระกูลแตง
โรคใบหงิกเหลือง
สาเหตุ  ไวรัส PeYLCV
ลักษณะอาการ ใบพริกจะด่างเหลือง โปรงแสง ขอบใบจะโค้งมากขึ้น ต้นหยุดการเจริญเติมโต ได้ผลผลิตน้อยลง
การแพร่ระบาด แมลงหวี่ขาวเป็นพาหะ
การป้องกันกำจัด กำจัดพืชที่เกิดโรคโดยการเผาทำลาย
นำแผ่นพลาสติกคลุมแปลงเพื่อไล่แมลง ลดการระบาดของพาหะ
ใช้สารเคมีในกลุ่ม carbamate เช่น คาร์โบซัลแฟน(พอส) เป็นต้น
ใช้สารเคมีในกลุ่ม Neonicotinoid เช่น ไดโนทีฟูแรน(สตาร์เกิล จี), ไทอะมีทอกแซม(เซนน่า) หรือ อิมิดาโคลพริด(ไบรด้า) เป็นต้น
ใช้ ยาจับใบ ฉีดพ่นเพื่อไล่พาหะ(ยาจับใบบางตัวสามารถคุมไข่ได้)

ศัตรูพืชของพริก

เพลี้ยไฟ
ลักษณะการทำลาย เพลี้ยไฟจะดูดน้ำเลี้ยงจากต้น โดยจะทำให้ใบหรือยอดหงิก ม้วน ดอกพริกร่วงไม่ติด หรือรูปทรงผลบิดงอ
แนวทางการป้องกันกำจัด อย่าให้พืชขาดน้ำ เพราะจะทำให้พืชอ่อนแอ
ใช้สารเคมีในกลุ่ม carbamate เช่น คาร์โบซัลแฟน(พอส) เป็นต้น
ใช้สารเคมีในกลุ่ม spinosyn เช่น สไปนีโทแรม(เอ็กซอล)
ใช้สารเคมีในกลุ่ม Pyrethroid เช่น ไซเพอร์เมทริน(ฮุค) เป็นต้น
ใช้สารเคมีในกลุ่ม phenylpyrazole เช่น ฟิโพรนิล(ไฟซ์ไนซ์) เป็นต้น
ใช้สารเคมีในกลุ่ม Organophosphate เช่น โพรฟีโนฟอส(เปเป้) หรือ คลอร์ไพริฟอส เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันมีสาร คลอไพริฟอส+ไซเพอร์เมทริน(คลอร์ไซริน)
ใช้สารเคมีในกลุ่ม Avermectin เช่น อะบาเม็กติน(ต็อดติ), อิมาเม็กตินเบนโซเอต(เดอะฮัก) เป็นต้น ใช้สารเคมีในกลุ่ม Neonicotinoid เช่น ไดโนทีฟูแรน(สตาร์เกิล จี), ไทอะมีทอกแซม(เซนน่า) หรือ อิมิดาโคลพริด(ไบรด้า) เป็นต้น โดยทั้งหมดสามารถใส่ร่วมกับ สารจับใบ ได้

หนอนกระทู้ผัก
ชื่อสามัญอื่น : หนอนกระทู้ยาสูบ หนอนกระทู้ฝ้าย หนอนเผือก
ลักษณะการทำลาย ตัวหนอนจะกัดกินทั้งลำต้น ไม่ว่า ใบ ดอก ก้าน หรือผล
แนวทางการป้องกันกำจัด ลดแหล่งขยายพันธุ์โดยการไถตากดินหรือกำจัดเศษซากพืช เก็บไข่และตัวหนอนไปทำลาย ใช้สารเคมีในกลุ่ม Pyrethoid เช่นไซเพอร์เมทริน(ฮุค) หรือ เดลทาเมทริน(เดซิส) เป็นต้น ใช้สารเคมีประเภท คลอร์ฟีนาเพอร์, อิมาเม็กตินเบนโซเอต(เดอะฮัก), อินด๊อกซาคาร์บ(แอมเมท), สปินโนแซด  หรือลูเฟนนูรอน

หนอนกระทู้หอม
ชื่อสามัญอื่น : หนอนหลอด หนอนหอม หนอนหนังเหนียว
ลักษณะการทำลาย ในระยะหนอนวัย 3 จะกิดกินทุกส่วนของพืช ใบ ดอก ต้น และผลพริก
แนวทางการป้องกันกำจัด ลดแหล่งขยายพันธุ์โดยการไถตากดินหรือกำจัดเศษซากพืช ใช้สารเคมีในกลุ่ม Pyrethoid เช่นไซเพอร์เมทริน(ฮุค) หรือ เดลทาเมทริน(เดซิส) เป็นต้น ใช้สารเคมีประเภท คลอร์ฟีนาเพอร์, อิมาเม็กตินเบนโซเอต(เดอะฮัก), อินด๊อกซาคาร์บ(แอมเมท), สปินโนแซด  หรือลูเฟนนูรอน ใช้สารกำจัดแมลงจากธรรมชาติ

หนอนเจาะสมอฝ้าย
ลักษณะการทำลาย ตัวหนอนจะกัดกินทั้งลำต้น ไม่ว่า ใบ ดอก ก้าน และผล หนอน วัย 4-5 มีความต้านทาน ต่อสารฆ่าแมลงสูง
แนวทางการป้องกันกำจัด ใช้สารเคมีในกลุ่ม Pyrethoid เช่น ไซเพอร์เมทริน(ฮุค) หรือ เดลทาเมทริน(เดซิส) เป็นต้น ใช้สารเคมีในกลุ่ม Organophosphate เช่น โพรฟีโนฟอส(เปเป้) หรือ คลอร์ไพริฟอส เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันมีสาร คลอไพริฟอส+ไซเพอร์เมทริน(คลอร์ไซริน) ใช้เชื้อแบคทีเรีย Bacillus thuringiensis subsp. aizawai หรือ Bacillus thuringiensis subsp. kurstaki อัตรา 60-80 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 5 วัน ในช่วงเวลาเย็น

แมลงวันผลไม้
ชื่อสามัญอื่น: หนอนดีด หนอนน้ำปลา
ลักษณะการทำลาย แมลงวันจะไปวางไข่ในระยะพริกใกล้เปลี่ยนสี หลังจากนั้นหนอนจะกัดกินจากข้างในพริกออกมา และเมื่อโตเต็มวัยจะมาเข้าดักแด้ในดิน
แนวทางการป้องกันกำจัด หมั่นทำความสะอาดแปลงปลูกผักเป็นประจำ
ใช้สารเคมีในกลุ่ม phenylpyrazole เช่น ฟิโพรนิล(ไฟซ์ไนซ์) เป็นต้น
ใช้สารกำจัดแมลงจากธรรมชาติ

แมลงหวี่ขาวยาสูบ
ลักษณะการทำลาย เป็นพาหะนำโรคไวรัส ทำให้ใบพริกหงิกงอ ต้นแคระเกร็นไม่สมบูรณ์
แนวทางการป้องกันกำจัด นำแผ่นพลาสติกคลุมแปลงเพื่อไล่แมลง ลดการระบาดของพาหะ ใช้สารเคมีในกลุ่ม neonicotinoid เช่น ไดโนทีฟูแรน(สตาร์เกิล จี), ไทอะมีทอกแซม(เซนน่า)หรือ อิมิดาโคลพริด(ไบรด้า) เป็นต้น
ใช้สารเคมีในกลุ่ม carbamate เช่น คาร์โบซัลแฟน(พอส) เป็นต้น
ใช้ ยาจับใบ ฉีดพ่นเพื่อไล่พาหะ

แมลงหวี่ขาวใยเกลียว
ลักษณะการทำลาย เป็นพาหะนำโรคไวรัส ทำให้ใบพริกหงิกงอ ต้นแคระเกร็นไม่สมบูรณ์
แนวทางการป้องกันกำจัด นำแผ่นพลาสติกคลุมแปลงเพื่อไล่แมลง ลดการระบาดของพาหะ ใช้สารเคมีในกลุ่ม carbamate เช่น คาร์โบซัลแฟน(พอส) เป็นต้น ใช้สารเคมีในกลุ่ม Neonicotinoid เช่น ไดโนทีฟูแรน(สตาร์เกิล จี), ไทอะมีทอกแซม(เซนน่า) หรือ อิมิดาโคลพริด(ไบรด้า) เป็นต้น
ใช้ ยาจับใบ ฉีดพ่นเพื่อไล่พาหะ

เพลี้ยอ่อน
ลักษณะการทำลาย ตัวเพลี้ยจะไปดูดน้ำเลี้ยงของต้น ทำให้ต้นพืชะงักการเจริญเติบโต และนอกจากนี้ยังเป็นพาหะของโรคใบด่างในพริก
แนวทางการป้องกันกำจัด  กำจัดวัชพืชบริเวณแปลงปลูก ใช้สารเคมีในกลุ่ม carbamate เช่น คาร์โบซัลแฟน(พอส) เป็นต้น ใช้สารเคมีในกลุ่ม Pyrethoid เช่นไซเพอร์เมทริน(ฮุค) หรือ เดลทาเมทริน(เดซิส) เป็นต้น
ใช้สารเคมีในกลุ่ม phenylpyrazole เช่น ฟิโพรนิล(แอสเซนด์) เป็นต้น
ใช้สารเคมีในกลุ่ม Neonicotinoid เช่น ไดโนทีฟูแรน(สตาร์เกิล จี), ไทอะมีทอกแซม(เซนน่า) หรือ อิมิดาโคลพริด(ไบรด้า) เป็นต้น
ฉีดพ่นสารสกัดจากธรรมชาติ เช่น สะเดา ผสมกับน้ำผงซักฟอกเจือจาง

ไรขาวพริก
ลักษณะการทำลาย ตัวอ่อนและตัวโตเต็มวัยจะเข้าไปดูดน้ำเลี้ยงของต้น ทำให้ใบเรียวแหลมแหลม ก้านใบยาว ในขั้นรุนแรงคือส่วนยอดจะแตกเป็นฝอย ดอกจะแคระเกร็น
แนวทางการป้องกันกำจัด ใช้สารเคมีประเภทสารจับใบในการฉีดพ่น
ใช้สารเคมีในกลุ่ม Inorganic เช่น ซัลเฟอร์(ไมโครไธออล กำมะถันเนื้อทอง)ใช้สารเคมีประเภท อะมีทราซ(อะไมทิช), ไพริดาเบน, อิมาเม็กตินเบนโซเอต(เดอะฮัก, อิมาเม็กตินเบนโซเอต(เดอะฮัก หรือ สไปโรมีซิเฟน เป็นต้น


แหล่งที่มา
www.allkaset.com
https://apichatsite.wordpress.com
https://www.pobpad.com
www.kasetsomboon.com
https://mgronline.com/
https://www.baanjomyut.com/
http://www.gypzyworld.com/
https://hilight.kapook.com/

แสดงความคิดเห็น

0 ความคิดเห็น